วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

William Harvey

เกิด  4 เมษายน ค.ศ. 1578 ที่เมืองฟอล์คสโตน (Flockstone) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน  ค้นพบระบบการไหลเวียนโลหิต (Blood Circulation)
        
     ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ แต่ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์หรือนายแพทย์ท่านใด  รู้ความจริงที่ว่า เลือดเดินทางอย่างไรในร่างกาย อีกทั้งหน้าที่ของหัวใจก็เป็นสิ่งสำคัญ 
     
     เมื่อประมาณปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช  นายแพทย์ชาวกรีก คลาดิอุส กาเลน (Clandius Galen) ได้ศึกษาและอธิบายว่า ระบบโลหิตในร่างกายมนุษย์มีลักษณะคล้ายน้ำขึ้น  น้ำลง ส่วนหัวใจมีหน้าที่ในการทำให้เลือดอุ่น ส่วนหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลย เพราะฉะนั้นวิธีการ
รักษาเมื่อเลือดมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลือดดำออกมา ความเชื่อเหล่านี้ผิด แต่คนทั่วไปรวมถึงแพทย์ก็ยังคงให้ความเชื่อถือ จนกระทั่งวิลเลี่ยม ฮาร์วี่ นายแพทย์ชาวอังกฤษได้ศึกษาค้นคว้า และพบความจริงเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ทำให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าผลงานของเขาเป็นเรื่องจริง แต่นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อถือ และต่อต้านเขาอีกด้วย ทำให้เขาได้รับความลำบาก แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่ยอมแพ้ และในที่สุดสิ่งที่ฮาร์วี่ค้นพบก็ได้รับการยอมรับ
          
     ฮาร์วี่เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1578 ที่เมืองฟอล์คสโตน ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ร่ำรวย บิดาของเขาเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองชื่อว่า โทมัส ฮาร์วี่ (Thomas Harvey) ทำให้เขามีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี หลังจากที่ฮาร์วี่สำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนแคนเทอเบอรี่ แกรมมา (Canterbury Gramma School) ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ จากนั้นเขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริจด์ (Cambridge University) หลังจากจบวิชาแพทย์ในปี ค.ศ. 1597 ฮาร์วี่ได้เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยปาดัว (Padua University) ประเทสอิตาลี ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยปาดัว เขามีโอกาสได้พบกับศาสตราจารย์ฮีโรนิมุส เฟบริซิอุส (Heronimus Fabrisius) ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ฮาร์วี่ค้นพบระบบการไหลเวียนโลหิต
         
      หลังจากที่ฮาร์วี่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยดาปัวแล้ว เขาได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์บาร์โทโลมิวกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ฮาร์วี่เป็นแพทย์ที่มีความสามารถ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ป่วยมาก คนไข้ของเขามีตั้งแต่คนร่ำรวยมหาศาล จนถึงยากจนเข็ญใจ ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาเขาได้รับเชิญเข้าร่มเป็นสมาชิกของแพทยสภาในปี ค.ศ. 1607 ต่อมาในปี ค.ศ. 1618 ฮาร์วี่ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (King James I)
เมื่อพระเจ้าเจมส์เสด็จสวรรคต พระเจ้าชาร์ลที่ 1 (King Charles I) ขึ้นครองราชสมบัติสืบแทน ทรงแต่งตั้งให้ฮาร์วี่เป็นแพทย์ ประจำพระองค์ ระหว่างที่ฮาร์วี่ทำงานในตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนของโลหิต โดยใช้เวลาในการค้นคว้านานถึง 10 ปี ในการบันทึก สังเกต และศึกษาจากการผ่าตัดผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย และในที่สุดเขาสามารถค้นพบเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในปี ค.ศ. 1628
     และในปีเดียวกัน ฮาร์วี่ได้พิมพ์ผลงานของเขาเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ลงในหนังสือชื่อว่า การทำงานของหัวใจ และระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายสัตว์ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจว่ามีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ลักษณะของหัวใจคล้ายกับถุงกล้ามเนื้อที่เต้นอยู่ตลอดเวลา และการเต้นของหัวใจก็ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต โดยมีเลือดแดงที่ไหลออกจากหัวใจไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย จากนั้นเลือดแดงจะกลายเป็นเลือดดำ และกลับขึ้นมาสู่หัวใจอีกครั้งหนึ่งเลือดจะถูกส่งเข้าไปยังห้องหัวใจซีกขวาด้านบนก่อน จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ห้องหัวใจซีกขวาด้านล่าง และส่งออกจากห้องนี้ไปสู่ปอด ซึ่งมีหน้าที่นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ในเลือดออกไป แล้วนำก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าไปแทนที่ เมื่อปอดฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงแล้วจะถูกส่งกลับไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านบนอีก ครั้งหนึ่ง จากนั้นจะถูกส่งไปยังห้องหัวใจซีกซ้ายด้านล่าง ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย และจะเป็นระบบเช่นนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่หัวใจหยุดเต้นก็เท่ากับว่าหยุดการสบฉีดโลหิต เลือดในร่างกายก็จะกลายเป็นเลือดดำ ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้แล้วฮาร์วี่ยังพบหน้าที่ของลิ้นหัวใจ ซึ่งอยู่ระหว่างห้องหัวใจต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไป
ทางเดิม

      หัวใจลักษณะนี้จะมีอยู่ในสัตว์ที่มีปอด หรือหายใจข้า - อออก ทางจมูกเท่านั้น ส่วนสัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งหายใจเข้า - ออก ทางเหงือก ทางผิวหนัง หรือวิธีการอื่น ๆ สัตว์เหล่านี้จะใช้ห้องหัวใจเพียงห้องเดียวทางด้านซ้าย ก็เพียงพอต่อการสูบฉีด
โลหิต

      เมื่อฮาร์วี่เผยแพร่ผลงานออกไป ปรากฏว่าคนทั่วไปไม่เห็นด้วย รวมถึงวงการแพทย์ก็ต่อต้านอย่างหนัก คนไข้ของเขาบางคนถึงกับเลิกรักษากับเขาเลยทีเดียว จนกระทั่งเขาเสียชีวิตก็ยังไม่สามารถทำให้ทุกคนเชื่อถือในสิ่งที่เขาค้นพบ ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการค้นพบของเขาก็มิได้สูญเปล่า เพราะหลังจากนั้นไม่นานเมื่ออังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek) สามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ วงการแพทย์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบการไหลเวียนโลหิตของมนุษย์นั้นเป็นไป อย่างที่ฮาร์วี่กล่าวไว้

       ฮาร์วี่ทำงานเป็นแพทย์ประจำราชสำนักอยู่นานกว่า 25 ปี เขาลาออกจากหน้าที่ในปี ค.ศ. 1646 เนื่องจากชราภาพมากแล้ว และ เสียชีวิตในปีต่อมาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657
เเหล่งอ้างอิง  http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/William%20Harvey.html

     เหตผลที่ชอบ ฮารวี่เป็นคนที่มีความพยายามสูง ถึงเเม้ว่าครอบครัวของฮารวี่จะร่ำรวยเเต่เขาก็ไม่ขี้เกียจ ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้จนได้เป็นเเพทย์ เเล้วสังเกตระบบหมุนเวียนเลือดต่างๆ ของคนไข้ที่รักษา เล็งเห็นว่ามันไม่น่าใช้อย่างที่กาเลนบอก เลยได้พิมพ์ผลงานของเขาเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ถึงเเม้ว่าเขาจะถูกต่อต้าน เเต่ในที่สุดความพยายามของเขาก็ไม่สูญเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น